วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน & ความขัดแย้ง

ความกลมกลืน (Harmony)
               
               โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง  ทำให้เกิดเป็นการประสานเข้า กันได้อย่างสนิท โดยไม่มีความขัดแย้ง ทำให้ผลงานการออกแบบ ทัศนศิลป์ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความมีเอกภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ความกลมกลืนถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะ ทำให้ผลงานนั้นอาจดูน่าเบื่อได้ จึงต้องมีการ เพิ่มการขัดแย้ง หรือ ความแตกต่าง (Contrast) เข้าไปร่วมบ้างเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลที่น่าสนใจขึ้น

                             
                           ความกลมกลืนด้วยเส้น
                           
                          ความกลมกลืนของสีโทนร้อน
  


 ความขัดแย้ง (contrast)

                    ความขัดแย้ง หมายถึง ความแตกต่าง (Opposition) ของ ส่วนประกอบมูลฐานที่อยู่ร่วมกัน (Juxtaposition) เช่น ขนาดใหญ่ / เล็ก, รูปร่างเหลี่ยม / มน, พื้นผิวหยาบ / ละเอียด ,น้ำหนักอ่อน / แก่ ,ทิศทางของเส้นตั้ง / นอน ,สีที่แตกต่างในวงล้อสี เช่น เขียว /แดง , น้ำเงิน / ส้ม เป็นต้น รวมทั้งความแตกต่างระหว่างส่วนประกอบมูลฐาน กับหลักการทัศนศิลป์ เพื่อสร้างให้ผลงานนั้น มีความงามเด่นชัด ช่วยเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในจุดสำคัญของการ ออกแบบ ให้เป็นจุดสน ใจขึ้น ทำให้ งานออกแบบนั้นมองดูไม่น่าเบื่อ ไม่ซ้ำซาก ไม่จำเจทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้างานออกแบบนั้น ขาดความแตกต่าง หรือ มีความกลมกลืนกันมากเกินไป ก็จะ ทำให้การออกแบบนั้นน่าเบื่อ ซ้ำซากจืดชืด ไม่น่าสนใจ แต่ก็มีข้อควรระวังในการ สร้างความแตกต่างก็คือ หากในงานทัศนศิลป์นั้น มีความแตกต่างมาก และอยู่อย่าง กระจัดกระจายแล้ว จะเป็นการทำลาย เอกภาพของงานศิลปะนั้น ฉนั้นการสร้างความแตกต่าง ย่อมอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์ของ เอกภาพ (Unity) ด้วย

                     การสร้างความขัดแย้งด้วยพื้นผิว


                    การสร้างความขัดแย้งด้วยขนาด
  

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จังหวะ จุดเด่น (Dominance)

จุดเด่นหลัก


1.จุดเด่นหลัก  เป็นภาพที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องที่จะเขียน   แสดงออกถึงเรื่องราวที่ชัดเจน   เด่นชัดที่สุดในภาพ

จุดเด่นรอง


2.จุดเด่นรอง  เป็นภาพประกอบของจุดเด่นหลัก  ทำหน้าที่สนับสนุนจุดเด่นหลัก  ให้ภาพมีความสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ในภาพจุดเด่นรองได้แก่ รูปดอกไม้


จังหวะ


3.จังหวะ หรือลีลา เป็นส่วนประกอบของการแสดงออกทางศิลปะ ทุกสาขา ที่ปรากฎชัดเจน เช่นในสาขาคีตกรรมและนาฏกรรม ที่มี การเรียบเรียงเสียงประสาน เป็นเสียงสูง เสียงต่ำสอดประสานกัน ความกลมกลืนจังหวะของการเต้นรำ การเคาะให้ เกิดจังหวะ แม้แต่ในสาขาวรรณกรรม ในโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะมีระเบียบบังคับ ของจังหวะแม้แต่การอ่านออกเสียง ก็ต้องให้ เลื่อนไหลเป็นจังหวะอย่างถูกต้อง อาจจะกล่าว ได้ว่า จังหวะ หมายถึงความเคลื่อน ไหวอย่างต่อเนื่องเหมือนจังหวะ ของคลื่นในทะเล ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หรือ จังหวะการเคลื่อนไหวที่หยุดเป็น ช่วง ๆ เน้นเป็นระยะ เช่น การเคาะจังหวะ การเน้นความหนักเบา ในคีตศิลป์และวรรณศิลป์



วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557